วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แมลงหางหนีบ

 
แมลงหางหนีบตัวสีดำ
                ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euborellia sp.
ชื่อสามัญ : Earwigs
วงศ์ (Family): Carcinophoridae
อันดับ (Order): Dermaptera
               
แมลงหางหนีบเป็นแมลงห้ำที่ช่วยควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด โดยกินทั้งไข่และตัวหนอน
 เช่น หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกออ้อย รวมทั้ง เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ไข่และตัวอ่อนของด้วงกุหลาบ นอกจากนี้ยังพบตามแปลงปลูกพืชผักโดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ
พฤติกรรมของแมลงหางหนีบจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในลำต้นและตามซอกกาบใบอ้อยหรือข้าวโพด หรือตามซอกดินที่มีเศษใบไม้ มีความสามารถในการเสาะหาเหยื่อตามซอกมุมได้ดี แมลงหางหนีบจึงเป็นแมลงที่มีศักยภาพ ในการนำไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูอ้อยและแมลงศัตรูข้าวโพดอย่างยิ่ง แมลงหางหนีบที่พบส่วนใหญ่ในแปลงข้าวโพด เป็นชนิดสีน้ำตาล Proreus simulans Stallen ส่วนที่พบในแปลงอ้อย เป็นแมลงหางหนีบชนิดสีดำ Euborellia sp.

รูปร่างและลักษณะการเจริญเติบโต
                แมลงหางหนีบ มีการเจริญเติบโตเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัย
·       ไข่ - มีลักษณะทรงกลม ผิวเรียบ สีขาวนวล วางไข่เป็นกลุ่มใต้ดิน ไข่ 1 กลุ่ม มีไข่ประมาณ 3040 ฟอง ระยะไข่ 810 วัน
·       ตัวอ่อน - มีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย แต่มีขนาดเล็กกว่า ระยะตัวอ่อนมี 3 วัย รวมอายุประมาณ 55 วัน
·       ตัวเต็มวัย - ลำตัวสีดำ ไม่มีปีก มีแพนหางเรียบสีดำ มีหนวดแบบเส้นด้าย ตัวเต็มวัยอายุประมาณ 90 วัน
พฤติกรรมการห้ำของแมลงหางหนีบ
                แมลงหางหนีบเข้าทำลายเหยื่อที่เป็นตัวหนอนโดยการใช้แพนหางหนีบให้ตัวหนอนสลบหรือตายก่อน แล้วจึงกัดกินตัวหนอนเป็นอาหาร ถ้าแมลงหางหนีบกินอาหารอิ่มแล้ว มันจะใช้แพนหางหนีบตัวหนอนให้ตายแล้วจะทิ้งไว้โดยไม่กินเป็นอาหารและจะไปห้ำหนอนตัวอื่นต่อไป ส่วนเหยื่อที่เป็นเพลี้ยอ่อน แมลงหางหนีบจะใช้ปากกัดกินโดยตรง
 การนำไปใช้ควบคุมศัตรูพืช

                ปล่อยแมลงหางหนีบตั้งแต่วัย 3 จนถึงตัวเต็มวัยเพื่อควบคุมศัตรูพืช โดยใช้อัตราการปล่อย 1002,000 ตัว/ไร่ (ขึ้นกับปริมาณศัตรูพืชในแปลงปลูกพืช) ปล่อย 12 ครั้ง/ฤดูปลูก

เอกสารอ้างอิง:  http://www.pmc04.doae.go.th/Myweb-2011-data1/03%20Earwigs/03%20earwigs.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น